VR Escape Room

เกม VR ที่ให้ผู้ใช้ได้มีประสบการณ์ร่วมไปกับเกมไขปริศนาที่สอดแทรกไปด้วยความรู้

22 มิถุนายน 2564

โครงการ VR Escape Room เป็นผลงานของนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ชั้นปีที่ 4 จัดทำในรูปแบบเกมความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality; VR) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ผ่านเทคโนโลยี VR ที่ให้ผู้ใช้ได้มีประสบการณ์ร่วมไปกับเกมไขปริศนาที่สอดแทรกไปด้วยความรู้

contentvqyvlybukjuhzwzhnrkz.png contentibgqxbakpsitcgcfeayr.png

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อสร้างโปรเจ็กต์ VR ด้วยโปรเแกรม Unity ซึ่งเป็นโปรแกรมในการพัฒนาเกมข้ามแพลตฟอร์มทั้งในรูปแบบของเกม 2 มิติ และ 3 มิติ
  2. เพื่อพัฒนาเกมที่ช่วยให้ผู้เล่นได้มีความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมและภาษาอังกฤษ เช่น วงจรพื้นฐาน, ปริศนาคำศัพท์ เป็นต้น

ระเบียบวิธีวิจัย

คณะผู้วิจัยมีความต้องการสร้างเกมไขปริศนาที่สอดแทรกไปด้วยความรู้ด้วยเทคโนโลยี VR จึงได้สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการออกแบบเกม เช่น ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow's Hierarchy of Needs) ทฤษฎีวงจรไฟฟ้า ฯลฯ นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังศึกษาเกี่ยวกับอาการเมารถซึ่งหนึ่งในอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้หากเล่นเกมวีอาร์เป็นระยะเวลานาน และศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเกม เช่น โปรแกรม Unity ซึ่งเป็นโปรแกรมในการพัฒนาเกมข้ามแพลตฟอร์มทั้งในรูปแบบของเกม 2 มิติ และ 3 มิติ โปรแกรม Blender ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับสร้างแอนิเมชัน 3 มิติ และ Oculus Quest 2 ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับการใช้งาน VR ฯลฯ รวมไปถึงศึกษาเกมที่มีอยู่ในตลาดที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน จากนั้น คณะผู้วิจัยจึงเริ่มออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งาน (User Interface; UI) และดำเนินการตามแผนงานพร้อมตรวจสอบความพร้อมของระบบก่อนเปิดใช้งาน

contentsafatozdkxflmqkrosqu.png

จากการปฏิบัติโครงการ คณะผู้วิจัยพบปัญหาบางประการ ได้แก่ 1. เกิดเหตุขัดข้องในขณะพัฒนาและทดสอบร่างต้นแบบของเกม ส่งผลให้เกมบางส่วนขาดหายไป 2. เนื่องจาก RAM ของคอมพิวเตอร์ที่ใช้มีความจำไม่เพียงพอต้องการประมวลผลเกม จึงจำเป็นต้องปรับพื้นที่ กราฟิก และการตั้งค่าบางอย่างภายในเกมเพื่อลดการใช้ความจำ RAM ลง 3. คณะผู้วิจัยมุ่งเน้นไปที่การเขียนโค้ดเป็นหลักเพื่อให้โปรแกรมเกมสามารถทำงานได้ แต่หลังจากที่ได้ลองพัฒนาเกมปริศนาดูพบว่า การจะผลิตเกมปริศนาที่เล่นผ่าน VR ได้จำเป็นต้องใช้ทักษะการสร้างแบบจำลองและแอนิเมชั่นด้วย เพื่อสร้างชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในเกม ด้วยเหตุนี้ คณะผู้วิจัยจึงได้ออกแบบเกมปริศใหม่และยังใช้แนวคิดเดิมหากแต่มีการสร้างแบบจำลองและแอนิเมชั่นที่น้อยลง

contentmkpvyrcbtedhrxjxpdgq.png

คณะผู้จัดทำ

  • Rungsimun Pimmatha
  • Worawoot Kittipoltaweesak