Virtual Sign Language Interpreter

แอปพลิเคชันบนเว็บไซต์เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินสามารถเข้าถึงและเข้าใจเนื้อหาจากสื่อได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

22 มิถุนายน 2563

โครงการ Virtual Sign Language Interpreter เป็นผลงานของนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ชั้นปีที่ 4 จัดทำในรูปแบบแอปพลิเคชันบนเว็บไซต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินสามารถเข้าถึงและเข้าใจเนื้อหาจากสื่อได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อสร้างแอปพลิเคชันภาษามือไทยเสมือนจริง
  2. เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นที่สามารถแปลงคำบรรยายภาษาไทยเป็นแอนิเมชั่นภาษามือไทย
  3. เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินสามารถเข้าถึงเนื้อหาจากสื่อได้ง่ายขึ้น
  4. เพื่อให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินสามารถรับชมสื่อได้โดยไม่ต้องมีคำบรรยายภาษามือจากล่ามตัวจริง

ระเบียบวิธีวิจัย

คณะผู้วิจัยเริ่มจากการกำหนดปัญหาโดยปัญหาที่พบคือ ประเทศไทยมีผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมากถึง 400,000 คนแต่กลับมีสื่อที่เอื้อต่อการรับชมของผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินน้อยมาก ด้วยเหตุนี้ คณะผู้วิจัยจึงสร้างแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนที่ช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินสามารถเข้าถึงเนื้อหาจากสื่อได้ง่ายขึ้น หลังจากที่ได้กำหนดปัญหาและวิธีแก้ไขแล้ว คณะผู้วิจัยจึงได้สืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาษามือไทย รวมไปถึงแอพพลิชันคู่แข่ง และโปรแกรมที่ใช้สำหรับการสร้างแอพพลิเคชัน จากนั้นจึงเริ่มออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งาน (User Interface; UI) และดำเนินการตามแผนงานพร้อมตรวจสอบความพร้อมของระบบก่อนเปิดใช้งาน

contentpxibslzaliskinpjuzov.png

สำหรับข้อเสนอแนะของโครงการ Virtual Sign Language Interpreter ในอนาคตมีทั้งหมด 4 ประการคือ 1. การปรับปรุงชุดข้อมูลภาษามือไทยให้มีคำและประโยคภาษามือเพิ่มเติม 2. ปรับแต่งอัลกอริทึมตามกฎสำหรับการแปลไวยากรณ์ภาษามือไทย 3. ปรับปรุงแอปพลิเคชันโดยลดความซับซ้อนของประโยคและคำแนะนำผู้ใช้ 4. ปรับปรุงแอนิเมชั่นผ่านอัลกอริธึมการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning Algorithm) ให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของการกำหนดเป้าหมายกระดูกใหม่ และเพิ่มความแม่นยำของแอนิเมชัน

คณะผู้จัดทำ

  • Jednipit Tantaletong
  • Suphakorn Zhang