Long-Distance Communication System for the Elderly
อุปกรณ์ระบบสื่อสารทางไกลสำหรับผู้สูงอายุและแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนเพื่อช่วยลดระยะห่างระหว่างผู้สูงอายุกับเด็กให้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะจิต
19 มิถุนายน 2563
โครงการ ระบบสื่อสารทางไกลสำหรับผู้สูงอายุ (Long-Distance Communication System for the Elderly) เป็นผลงานของนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ชั้นปีที่ 4 จัดทำในรูปแบบอุปกรณ์สื่อสารทางไกลสำหรับผู้สูงอายุและแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดระยะห่างระหว่างผู้สูงอายุกับเด็กให้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า ความรู้สึกเหงาและความเหงาในผู้สูงอายุจากการขาดการติดต่ทางวีดิโอกับสมาชิกในครอบครัว
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อพัฒนาอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุในการติดต่อสมาชิกในครอบครัว ทำให้สมาชิกในครอบครัวใกล้ชิดกันมากขึ้น และทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเครียดและเหงาน้อยลงด้วย Video Call
- เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับคนรุ่นใหม่เพื่อติดต่อกับผู้สูงอายุ
ระเบียบวิธีวิจัย
เนื่องจากความเหงาในผู้สูงอายุอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าและปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้ ด้วยเหตุนี้ คณะผู้วิจัยจึงจัดทำโครงการระบบสื่อสารทางไกลสำหรับผู้สูงอายุขึ้นพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถสื่อสารกับบุตรหลานได้ง่ายขึ้น ระบบสื่อสารนี้ประกอบด้วยกัน 2 ส่วนคือ 1. อุปกรณ์สื่อสารสำหรับผู้สูงอายุ 2. แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนสำหรับสมาชิกในครอบครัว โดยระบบสื่อสารนี้มีหน้าที่หลักในการใช้งานคือ 1. ระบบสื่อสารวิดีโอคอลที่สะดวกสำหรับผู้สูงอายุ 2. ส่งรูปภาพที่ผู้สูงอายุสามารถดูรูปภาพและวิดีโอที่บุตรหลานมี ส่งผ่านอุปกรณ์เพื่อคลายความเหงาและแบ่งปันเรื่องราวในครอบครัว 3. ส่งข้อความโดยลูกหลานซึ่งสามารถส่งข้อความถึงผู้สูงอายุและเล่าเรื่อง หรือข้อความสำคัญให้กับผู้สูงอายุเพื่อคลายความวิตกกังวลหรือความกังวล หลังจากที่ได้กำหนดปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาแล้ว คณะผู้วิจัยจึงเริ่มสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ เช่น อะไรคือสาเหตุของความเหงาในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุใช้และสื่อสารผ่านเทคโนโลยีอย่างไร แนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งาน (User Interface; UI) สำหรับผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์สำหรับการสื่อสารที่ออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุ และคณะผู้วิจัยยังได้ทำแบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการของกลุ่มผู้สูงอายุอีกด้วย นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเครื่องมือสื่อสารสำหรับโครงการนี้ จากนั้นจึงวางแผนการออกแบบเครื่องมือสื่อสาร และสร้างตัวจำลองต้นแบบ (prototype) อุปกรณ์ระบบสื่อสารทางไกลสำหรับผู้สูงอายุและแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนขึ้น จากนั้นจึงดำเนินการตามแผนงาน และตรวจสอบความพร้อมของระบบก่อนเปิดใช้งาน
จากโครงการระบบสื่อสารทางไกลสำหรับผู้สูงอายุ คณะผู้วิจัยได้ใช้หลักการทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ในการจัดทำ ได้แก่ ระบบวงจร ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบสมองกลฝังตัว (Embedded Systems) และวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ข้อจำกัดที่พบ ได้แก่ 1. ผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ไม่สามารถทดสอบอุปกรณ์กับผู้สูงอายุได้ 2. ความต้องการเครื่องตัดอะคริลิกและเครื่องพิมพ์ 3 มิติสำหรับชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ แต่ได้แก้ไขปัญหาด้วยการใช้ส่วนต่อประสานซอฟต์แวร์แทน ในอนาคต มีความเป็นไปได้ที่โครงการระบบสื่อสารทางไกลสำหรับผู้สูงอายุจะสามารถพัฒนาให้ใช้แอปพลิเคชันบน iOS ได้โดยใช้ Native iOS สำหรับการสนทนาทางวิดีโอบนโปรแกรม WebRTC นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่ม RFID ที่พิมพ์แบบ 3 มิติเพื่อระบุตัวตนของสมาชิกในครอบครัวได้อีกด้วย
คณะผู้จัดทำ
- ณัชชา สุวรรณยิก
- ปาณิสรา ธนะประสพ
- เจนารัชต์ วงษ์สิริปรีชา