Inventory Management Web Application for Hardware Store
แอปพลิเคชันบนเว็บไซต์เพื่อช่วยให้เจ้าของธุรกิจและพนักงานสามารถบริหารจัดการสินค้าในสต็อกและสินค้าคงคลังได้สะดวกยิ่งขึ้น และช่วยปรับปรุงการบริการลูกค้าเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจได้มากขึ้น
18 มิถุนายน 2563
โครงการ Inventory Management Web Application for Hardware Store เป็นผลงานของนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ชั้นปีที่ 4 จัดทำในรูปแบบแอปพลิเคชันบนเว็บไซต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้เจ้าของธุรกิจและพนักงานสามารถบริหารจัดการสินค้าในสต็อกและสินค้าคงคลังได้สะดวกยิ่งขึ้น และช่วยปรับปรุงการบริการลูกค้าเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจได้มากขึ้น
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อออกแบบการจัดวางสินค้าและสินค้าคงคลังภายในร้านค้า
- เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชันบนเว็บไซต์สำหรับจัดการรายละเอียดสินค้าภายในร้าน ประกอบด้วย ชื่อสินค้า บาร์โค้ด ราคา ที่ตั้งของสินค้า วันหมดอายุ เป็นต้น
- เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชันบนเว็บไซต์ที่สามารถคำนวณบิล และแสดงสินค้าขายดีในร้านค้าได้
- เพื่อเพิ่มทักษะทางวิศวกรรมสำหรับการเป็นนักพัฒนาในแง่ของการสร้างฐานข้อมูล การออกแบบส่วนต่อประสาน (Interface) และการสร้างแอพพลิเคชันบนเว็บไซต์
- เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมผ่านการระดมความคิดกับสมาชิกในทีมและแบ่งงาน
ระเบียบวิธีวิจัย
เนื่องจากธุรกิจขนาดกลางในประเทศไทยมีการเจริญเติบโตเป็นอย่างมากแต่ยังไม่มีเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการและควบคุมการจัดการสินค้าคงคลังที่ดีพอ ด้วยเหตุนี้ คณะผู้วิจัยทำจึงสร้างแอปพลิเคชันบนเว็บไซต์ที่เรียกว่า “Store Stock” ขึ้นเพื่อช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถจัดการปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสินค้าคงคลัง เช่น การสรุปยอด จัดเรียงสินค้า ระบุตำแหน่งของสินค้าภายในคลัง รวมไปถึงการแสดงผลธุรกรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดผ่านเสปรตชีตได้อีกด้วย หลังจากที่ได้กำหนดปัญหาแล้ว คณะผู้วิจัยจึงสังเกตพฤติกรรม และออกแบบสอบถามที่เกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของธุรกิจขนาดกลาง รวมไปถึงวางแผนการออกแบบแอพพลิเคชันบนเว็บไซต์ และเปรียบเทียบผลการทดสอบของเครื่องมือสำหรับการตรวจจับสินค้าทั้งหมด 4 ตัว จากนั้นจึงเริ่มออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งาน (User Interface; UI) ได้แก่ หน้าตาของเว็บไซต์ ระบบการจัดการสินค้าคงคลัง การสรุปการทำธุรกรรม (Transanction Summary) การตรวจจับและจัดการสินค้า และการ export ข้อมูลการแสดงผลยอดการทำธุรกรรมในรูปแบบเสปรตชีท จากนั้นจึงดำเนินการตามแผนงาน และตรวจสอบความพร้อมของระบบก่อนเปิดใช้งาน
ผลการวิจัยสรุปว่า เจ้าของกิจการชื่นชอบหน้าเว็บไซต์เนื่องจากใช้งานง่าย มีสีสัน และการออกแบบที่สวยงาม อย่างไรก็ดี เจ้าของกิจการมีความประสงค์ให้หน้าเว็บไซต์เป็นภาษาไทยและมีขนาดตัวอักษรที่ใหญ่ขึ้น และต้องการให้หน้าเว็บไซต์สามารถสืบค้นได้ผ่านชื่อสินค้า สำหรับผู้ดูแลแทนเจ้าของกิจการระบุว่าตนต้องการให้หน้าเว็บไซต์มีแผนที่ของคัลงสินค้าเพื่อจะได้เห็นภาพรวมและการจัดเรียงของสินค้าภายในคลัง รวมไปถึงฟังก์ชันแสดงสัญญาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย และสำหรับพนักงานให้ความเห็นว่าตนชื่นชอบตัวเว็บไซต์และอยากจะให้เพิ่มฟังก์ชันที่ลบรายการสินค้าหลังจากได้เพิ่มสินค้าลงในคลัง
คณะผู้จัดทำ
- Chayaporn Phanupat
- Pornpitcha Chinwattanachot
- Aphisara Phumwiwattana